วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ระบบประสาท

       
ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้

ระบบประสาทประกอบด้วยเซลล์สองประเภท คือ
เซลล์ประสาท (nerve cell) หรือ นิวรอน (neuron) เป็นเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบหลักของระบบประสาท
เซลล์เกลีย (glia) เป็นเซลล์สำคัญรองจากนิวรอนมีหน้าที่ในการลำเลียงอาหารมาให้เซลล์ประสาท และเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของระบบประสาท การส่งสัญญาณภายในระบบประสาทเกิดขึ้นได้ด้วยกลไกสองอย่าง คือ
การส่งสัญญาณภายในเส้นใยประสาท (nerve fiber) โดยวิธีของศักยะงาน (action potential)
การส่งสัญญาณระหว่างนิวรอนโดยอาศัยสารสื่อประสาท (neurotransmitter) บริเวณจุดประสานประสาท (synapse)

ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทกลาง หรือ ซีเอ็นเอส(central nervous system - CNS) และ ระบบประสาทนอกส่วนกลาง หรือ พีเอ็นเอส (peripheral nervous system - PNS) ระบบประสาทกลางประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง โดยทั่วไปเรียกส่วนหลักของระบบประสาทนอกส่วนกลางว่า เส้นประสาท (ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็น แกนประสาท หรือ แอกซอน (axon) ของเซลล์ประสาท) ระบบประสาทนอกส่วนกลางยังสามารถแบ่งออกเป็นระบบประสาทกาย (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system)

การจัดระบบของระบบประสาทในสัตว์มีกระดูกสันหลัง


ระบบประสาทนอกส่วนกลาง


(peripheral nervous system)

ระบบประสาทกาย


(somatic nervous system)


ระบบประสาทอิสระ


(autonomic nervous system)

ระบบประสาทซิมพาเทติก


(sympathetic nervous system)


ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก


(parasympathetic nervous system)


ระบบประสาทเอนเทอริก


(enteric nervous system)


ระบบประสาทกลาง


(central nervous system)

ระบบประสาทกาย มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและรับสิ่งเร้า (stimulus) ต่าง ๆ จากภายนอกร่างกาย ระบบประสาทอิสระเป็นส่วนที่ไม่สามารถสั่งงานได้และมีหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายในต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ, ปอด เป็นต้น
ระบบประสาทอิสระ ยังสามารถแบ่งออกเป็น ระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ระบบประสาทซิมพาเทติกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตรายหรือสถานการณ์ที่ตึงเครียด ระบบประสาทอันนี้ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและเพิ่มความดันเลือด และเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานตรงกันข้ามกับระบบประสาทซิมพาเทติก กล่าวคือ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานเมื่อร่างกายรู้สึกผ่อนคลายหรือกำลังพัก มีผลทำให้รูม่านตาหดตัว, หัวใจเต้นช้าลง, เส้นเลือดขยายตัว และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหาร, ระบบสืบพันธุ์ และระบบขับถ่ายทำงานอีกด้วย
ระบบประสาทกลาง ประกอบด้วย สมอง และไขสันหลัง
สมอง
สมอง (brain) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ prosencepphalon) ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน (telencephalo) และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่ (cerebrum) ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโปทาลามัส (hypothalamus) ทาลามัส (thalamus)
สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟล็กซ์เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory reflex) ประกอบด้วยซีรีบรัล พีดังเคิล (cerebral peduncle) และคอร์พอรา ควอไดรเจมินา (corpora quadrigemina) ซึ่งแบ่งออกเป็น ซุพีเรียร์ คอลลิคูไล (superior colliculi) 2 พู (lob) และอินฟีเรียร์ คอลลิคูไล (inferior colliculi) 2 พู
สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate) สมองน้อย หรือ ซีรีเบลลัม (cerebellum) และ พอนส์ (pons) สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)
เนื้อเทา (Gray matter) เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและแกนประสาท ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
เนื้อขาว (White matter) เป็นที่อยู่ของแกนประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม เยื่อหุ้มสมอง
เยื่อหุ้มสมอง (Meninges) 3 ชั้น คือ
2เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก
(Dura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน3 เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
เยื่อหุ้มสมองชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่างชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจะทำหน้าที่ให้สมองและไขสันหลังเปียกชื้นอยู่เสมอ ไขสันหลัง
ไขสันหลัง (spinal cord) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
เนื้อขาว (White matter) เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
เนื้อเทา (Gray matter) เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก
ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง
ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาทอัตโนมัติ ซลล์ประสาท ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท
ตัวเซลล์ (cell body หรือ soma) มีส่วนประกอบเหมือนเซลล์ทั่วๆไป เช่น นิวเคลียส ไมโตคอนเดรีย
ใยประสาท (nerve fiber) คือส่วนของโปรโตพลาสซึมของเซลล์ที่ยื่นออกไปมี 2 ชนิดคือ เซลล์ประสาทขั้วเดียว และเซลล์ประสาท 2 ขั้ว การทำงานของระบบในร่างกายเพื่อตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นนี้ เรียกว่า ระบบประสาท ประกอบด้วย หน่วยรับความรู้สึกที่มีอยู่ตามอวัยวะรับสัมผัส เส้นประสาท สมองและไขสันหลัง โดยอวัยวะรับสัมผัสของมนุษย์มีอยู่ 5 อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ซึ่งอวัยวะรับสัมผัสแต่ละชนิดจะมีหน่วยรับความรู้สึก ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป
ตา
นัยน์ตา หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า ตา เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ ตามีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนประกอบภายนอกตา ได้แก่
1.1 คิ้ว ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตา
1.2 ขนตา ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าตา
1.3 หนังตา ทำหน้าที่ช่วยปิดเปิดเพื่อรับแสงและควบคุมปริมาณของแสงสู่นัยน์ตา ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตา
และหลับตา เพื่อให้นัยน์ตาได้พักผ่อน นอกจากนี้การกระพริบตายังจะช่วยรักษาให้นัยน์ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ
โดยปกติคนเรากระพริบตา 25 ครั้ง / นาที
1.4 ต่อมน้ำตา เป็นต่อมเล็กๆ อยู่ใต้หางคิ้ว ต่อมนี้จะขับน้ำตา มาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา
น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก
ถ้าต่อมน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก เช่นเมื่อร้องไห้ น้ำตาจะถูกระบายออกที่รูระบายน้ำตา และเข้าไป ในจมูก ทำให้คัดจมูกได้
1. ส่วนประกอบภายนอกตา ได้แก่

1.1 คิ้ว ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตา

1.2 ขนตา ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าตา

1.3 หนังตา ทำหน้าที่ช่วยปิดเปิดเพื่อรับแสงและควบคุมปริมาณของแสงสู่นัยน์ตา ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตา
และหลับตา เพื่อให้นัยน์ตาได้พักผ่อน นอกจากนี้การกระพริบตายังจะช่วยรักษาให้นัยน์ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ
โดยปกติคนเรากระพริบตา 25 ครั้ง / นาที

และหลับตา เพื่อให้นัยน์ตาได้พักผ่อน นอกจากนี้การกระพริบตายังจะช่วยรักษาให้นัยน์ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ
โดยปกติคนเรากระพริบตา 25 ครั้ง / นาที
1.4 ต่อมน้ำตา เป็นต่อมเล็กๆ อยู่ใต้หางคิ้ว ต่อมนี้จะขับน้ำตา มาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา
น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก
ถ้าต่อมน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก เช่นเมื่อร้องไห้ น้ำตาจะถูกระบายออกที่รูระบายน้ำตา และเข้าไป ในจมูก ทำให้คัดจมูกได้
น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก
ถ้าต่อมน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก เช่นเมื่อร้องไห้ น้ำตาจะถูกระบายออกที่รูระบายน้ำตา และเข้าไป ในจมูก ทำให้คัดจมูกได้

2. ส่วนประกอบภายในดวงตา คือ ส่วนที่เรียกว่าลูกตา มีรูปร่างเป็นทรงกลมรี ภายในมีของเหลว
ลักษณะเป็นวุ้นใสคล้ายไข่ดาวบรรจุอยู่เต็ม อวัยวะที่สำคัญของส่วนประกอบภายในลูกตา ได้แก่ ตาขาว ตาดำ แก้วตา และจอตา(Retina)หรือฉากตา
2.1 ตาขาว (Sclera) คือส่วนสีขาวของนัยน์ตา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเหนียวไม่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ทำหน้าที่หุ้มลูกตาไว้ ด้านหลังลูกตา มีกล้ามเนื้อยืดอยู่ 6 มัด ทำให้กลอกตาไปทางซ้ายขวา หรือขึ้น-ลงได้ ผนังด้านหน้าของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อใสเรียกว่า กระจกตา (Cornea) ซึ่งหากมีจุดหรือรอยถลอกเพียงเล็กน้อยจะรบกวน
การมองเห็น และทำให้เคืองตาได้มากถ้าเป็นฝ้าขาวทำให้ตาบอดได้
2.2 ตาดำ คือส่วนที่เป็นม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อยืดหดได้และมีสีตามชาติพันธุ์
คนไทยส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาลเข้ม ดูเผินๆ คล้ายสีดำ จึงเรียกว่าตาดำ ตรงกลางม่านตามีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา (Pupil)
ซึ่งเป็นทางให้แสงผ่านเข้าทำให้เข้ารูม่านตาได้เหมาะ คือถ้าเราอยู่ในที่สว่างมาก ม่านตาจะหดแคบ รูม่านตาก็จะเล็กลง
ทำให้แสงผ่านเข้าลูกตาได้น้อยลง เราจึงต้องทำตาหรี่ หรือหรี่ตาลง ถ้าอยู่ในที่สว่างน้อย ม่านตาจะเปิดกว้าง
ทำให้แสงผ่านเข้าตาได้มากและทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เราจึงต้องเบิกตากว้าง
2.3 แก้วตา (Lens) อยู่หลังรูม่านตา มีลักษณะเป็นแผ่นใสๆ เหมือนแก้ว คล้ายเลนส์นูนธรรมดา
มีเอ็นยึดแก้วตา (Ciliary muscle) ยึดระหว่าง แก้วตาและกล้ามเนื้อ และกล้ามนี้ยึดอยู่โดยรอบที่ขอบของแก้วตา
กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ปรับแก้วตาให้โค้งออกมาเมื่อมาเมื่อมองภาพในระยะใกล้ และปรับแก้วตาให้แบนเมื่อมองในระยะไกล
ทำให้มองเห็นภาพ ได้ชัดเจนทุกระยะ
2.4 จอตา หรือฉากตา (Retina) อยู่ด้านหลังแก้วตา มีลักษณะเป็นผนังที่ประกอบด้วยใยประสาทซึ่งไวต่อแสง
เซลล์ของประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น จอรับภาพตามที่เป็นแล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทตา
ซึ่งทอดทะลุออกทางหลังกระบอกตาโยงไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมายให้เกิดความรู้สึกเห็นภาพ ทำให้เรารู้ว่าเรามองภาพอะไรอยู่
การมองเห็นภาพ
คนเรามองเห็นภาพต่างๆ ได้เพราะแสงไปกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตาเรา ผ่านกระจกตา รูม่านตา แก้วตา
ไปตกที่จอตา เซลล์รับภาพที่จอตาจะรับภาพ ในลักษณะหัวกลับแล้วส่งไปตามเส้นประสาทสู่สมองส่วนท้ายทอย
สมองทำหน้าที่แปลภาพหัวกลับเป็นหัวตั้งตามเดิมของสิ่งที่เห็น
ความผิดปกติของสายตา
เกิดขึ้นเพราะส่วนประกอบของนัยน์ตาทีลักษณะผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการมองเห็นไม่ชัดได้ ตาพร่าได้ ที่พบบ่อยได้แก่
1. สายตาสั้น คือ การที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ สิ่งที่อยู่ไกลจะเห็นไม่ชัด
สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความยาวมากกว่าปกติ ทำให้ระยะระหว่างแก้วตา และจอตาอยู่ห่างกันเกินไป
ทำให้ภาพของสิ่งที่มองตกก่อนจะถึงจอตา
การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์เว้า เพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี
2. สายตายาว คือ การที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ไกลๆ สิ่งที่อยู่ใกล้จะเห็นไม่ชัด
สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความสั้นกว่าปกติ หรือผิวของแก้วตาโค้งนูนน้อยเกินไป ทำให้ภาพของสิ่งที่มอง
ตกเลยจอตาไป ทำให้มองเห็นภาพใกล้ๆไม่ชัดเจน
การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์นูน เพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี
3. สายตาเอียง คือ การที่มองเห็นบิดเบี้ยวจากรูปทรงที่แท้จริง บางคนมองเห็นภาพในแนวดิ่งชัด
แต่มองภาพในแนวระดับมองไม่ชัด เช่น มองดูนาฬิกา เห็นเลข 3,9 ชัด แต่เห็นเลข 6,12 ไม่ชัด
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความโค้งนูนของแก้วตาไม่สม่ำเสมอ จอตาจึงรับภาพได้ไม่ชัดเจนเท่าทุกแนว
การแก้ไข ใส่แว่นตาเลนส์พิเศษ รูปกาบกล้วย หรือรูปทรงกระบอก แก้ไขภาพเฉพาะส่วนที่ตกนอกจอตา
ให้ตกลงบนจอตาให้หมด
4. ตาส่อน ตาเอก ตาเข ตาเหล่
ตาส่อนและตาเอก หมายถึง คนที่มีตาดำสองข้างอยู่ในตำแหน่งไม่ตรงกัน ถ้าเป็นมากขึ้นเรียกว่า ตาเข และถ้าตาเขมากๆ
เรียกว่า ตาเหล่ ซึ่งจะมองเห็นภาพเดียวกันเป็น 2 ภาพ เพราะภาพจาก ตาสองข้างทับกัน ไม่สนิท
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากกล้ามเนื้อบางมัดที่ใช้กลอกตา อ่อนกำลัง หรือเสียกำลังไป กล้ามเนื้อมัดตรงข้าม ยังทำงานปกติ
จะดึงลูกตาให้เอียงไป ทำให้สมองไม่สามารถบังคับตาดำให้มองไป ยังสิ่งที่ต้องการ เหมือนลูกตาข้างที่ดีได้
การแก้ไข ควรปรึกษา จักษุแพทย์ในระยะที่เริ่มเป็น แพทย์อาจรักษาโดยการใช้แว่นตา หรือฝึกกล้ามเนื้อที่อ่อนให้ทำงานดีขึ้น
หรืออาจรักษาโดยการผ่าตัด

การถนอมดวงตา
ตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การถนอมดวงตาไว้ใช้งานได้นานและอยู่ในสภาพ ดีที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ซึ่งเป็นวิธีปฎิบัติดังนี้
1. อย่าใช้สายตานานเกินควร ถ้าจำเป็นควรพักสายตาบ่อยๆ
2. การอ่านหนังสือ ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ควรมีแสงส่องจากทางซ้าย ค่อนไปหลังเล็กน้อย ตาควรห่างจากหนังสือ
ประมาณ 1 ฟุต
3. การดูโทรทัศน์ ควรดูในห้องที่มีแสงสว่างพอสมควร และควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่า
ของขนาดโทรทัศน์ เช่น โทรทัศน์ขนาด 14" (วัดทแยงมุม) ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ 14 x 5 = 70 " = 70/12 ฟุต = 5.83. = ประมาณ 6 ฟุต
4. เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา อย่าใช้มือขยี้ตา ควรใช้น้ำสะอาด หรือน้ำยาล้างตาล้างเอาฝุ่นออก
5. หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้า เช่น ดวงอาทิตย์ ของสีขาวที่อยู่กลางแดดเพราะจะทำให้เซลล์ประสาทตาเสื่อมได้
6. ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับตาได้ เช่น อย่าให้ของแหลมอยู่ใกล้ตา ไม่เล่นขว้างปาหรือยิงหนังยางใส่กัน
7. ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่นแว่นตา ผ้าเช็ดหน้า เพราะอาจติดเชื้อได้
8. เวลานอนควรปิดไฟ เพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนเต็มที่
9. ควรกินอาหารที่ให้วิตามินเอประจำ เช่น ไข่ นม น้ำมันตับปลา ผักผลไม้สีเหลือง เป็นต้น
10. เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่นมองเห็นภาพไม่ชัด ตาบวม คันตา ฯลฯ ควรปรึกษาจักษุแพทย์
ลักษณะเป็นวุ้นใสคล้ายไข่ดาวบรรจุอยู่เต็ม อวัยวะที่สำคัญของส่วนประกอบภายในลูกตา ได้แก่ ตาขาว ตาดำ แก้วตา และจอตา(Retina)หรือฉากตา
2.1 ตาขาว (Sclera) คือส่วนสีขาวของนัยน์ตา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเหนียวไม่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ทำหน้าที่หุ้มลูกตาไว้ ด้านหลังลูกตา มีกล้ามเนื้อยืดอยู่ 6 มัด ทำให้กลอกตาไปทางซ้ายขวา หรือขึ้น-ลงได้ ผนังด้านหน้าของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อใสเรียกว่า กระจกตา (Cornea) ซึ่งหากมีจุดหรือรอยถลอกเพียงเล็กน้อยจะรบกวน
การมองเห็น
การมองเห็น และทำให้เคืองตาได้มากถ้าเป็นฝ้าขาวทำให้ตาบอดได้
2.2 ตาดำ คือส่วนที่เป็นม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อยืดหดได้และมีสีตามชาติพันธุ์
คนไทยส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาลเข้ม
คนไทยส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาลเข้ม ดูเผินๆ คล้ายสีดำ จึงเรียกว่าตาดำ ตรงกลางม่านตามีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา (Pupil)
ซึ่งเป็นทางให้แสงผ่านเข้าทำให้เข้ารูม่านตาได้เหมาะ คือถ้าเราอยู่ในที่สว่างมาก ม่านตาจะหดแคบ รูม่านตาก็จะเล็กลง
ทำให้แสงผ่านเข้าลูกตาได้น้อยลง เราจึงต้องทำตาหรี่ หรือหรี่ตาลง ถ้าอยู่ในที่สว่างน้อย ม่านตาจะเปิดกว้าง
ทำให้แสงผ่านเข้าตาได้มากและทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เราจึงต้องเบิกตากว้าง
2.3 แก้วตา (Lens) อยู่หลังรูม่านตา มีลักษณะเป็นแผ่นใสๆ เหมือนแก้ว คล้ายเลนส์นูนธรรมดา
มีเอ็นยึดแก้วตา (
มีเอ็นยึดแก้วตา (Ciliary muscle) ยึดระหว่าง แก้วตาและกล้ามเนื้อ และกล้ามนี้ยึดอยู่โดยรอบที่ขอบของแก้วตา
กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ปรับแก้วตาให้โค้งออกมาเมื่อมาเมื่อมองภาพในระยะใกล้ และปรับแก้วตาให้แบนเมื่อมองในระยะไกล
ทำให้มองเห็นภาพ
ทำให้มองเห็นภาพ ได้ชัดเจนทุกระยะ
2.4 จอตา หรือฉากตา (Retina) อยู่ด้านหลังแก้วตา มีลักษณะเป็นผนังที่ประกอบด้วยใยประสาทซึ่งไวต่อแสง
เซลล์ของประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น จอรับภาพตามที่เป็นแล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทตา
ซึ่งทอดทะลุออกทางหลังกระบอกตาโยงไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมายให้เกิดความรู้สึกเห็นภาพ ทำให้เรารู้ว่าเรามองภาพอะไรอยู่
การมองเห็นภาพ
คนเรามองเห็นภาพต่างๆ ได้เพราะแสงไปกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตาเรา ผ่านกระจกตา รูม่านตา แก้วตา
ไปตกที่จอตา เซลล์รับภาพที่จอตาจะรับภาพ
ไปตกที่จอตา เซลล์รับภาพที่จอตาจะรับภาพ ในลักษณะหัวกลับแล้วส่งไปตามเส้นประสาทสู่สมองส่วนท้ายทอย
สมองทำหน้าที่แปลภาพหัวกลับเป็นหัวตั้งตามเดิมของสิ่งที่เห็น
ความผิดปกติของสายตา
เกิดขึ้นเพราะส่วนประกอบของนัยน์ตาทีลักษณะผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการมองเห็นไม่ชัดได้ ตาพร่าได้ ที่พบบ่อยได้แก่
1. สายตาสั้น คือ การที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ สิ่งที่อยู่ไกลจะเห็นไม่ชัด
สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความยาวมากกว่าปกติ ทำให้ระยะระหว่างแก้วตา และจอตาอยู่ห่างกันเกินไป
ทำให้ภาพของสิ่งที่มองตกก่อนจะถึงจอตา
การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์เว้า เพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี
2. สายตายาว คือ การที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ไกลๆ สิ่งที่อยู่ใกล้จะเห็นไม่ชัด
สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความสั้นกว่าปกติ หรือผิวของแก้วตาโค้งนูนน้อยเกินไป ทำให้ภาพของสิ่งที่มอง
ตกเลยจอตาไป
ตกเลยจอตาไป ทำให้มองเห็นภาพใกล้ๆไม่ชัดเจน
การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์นูน เพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี
3. สายตาเอียง คือ การที่มองเห็นบิดเบี้ยวจากรูปทรงที่แท้จริง บางคนมองเห็นภาพในแนวดิ่งชัด
แต่มองภาพในแนวระดับมองไม่ชัด เช่น มองดูนาฬิกา เห็นเลข 3,9 ชัด แต่เห็นเลข 6,12 ไม่ชัด
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความโค้งนูนของแก้วตาไม่สม่ำเสมอ จอตาจึงรับภาพได้ไม่ชัดเจนเท่าทุกแนว
การแก้ไข ใส่แว่นตาเลนส์พิเศษ รูปกาบกล้วย หรือรูปทรงกระบอก แก้ไขภาพเฉพาะส่วนที่ตกนอกจอตา
ให้ตกลงบนจอตาให้หมด
4. ตาส่อน ตาเอก ตาเข ตาเหล่
ตาส่อนและตาเอก หมายถึง คนที่มีตาดำสองข้างอยู่ในตำแหน่งไม่ตรงกัน ถ้าเป็นมากขึ้นเรียกว่า ตาเข และถ้าตาเขมากๆ
เรียกว่า ตาเหล่
เรียกว่า ตาเหล่ ซึ่งจะมองเห็นภาพเดียวกันเป็น 2 ภาพ เพราะภาพจาก ตาสองข้างทับกัน ไม่สนิท
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากกล้ามเนื้อบางมัดที่ใช้กลอกตา อ่อนกำลัง หรือเสียกำลังไป กล้ามเนื้อมัดตรงข้าม ยังทำงานปกติ
จะดึงลูกตาให้เอียงไป
จะดึงลูกตาให้เอียงไป ทำให้สมองไม่สามารถบังคับตาดำให้มองไป ยังสิ่งที่ต้องการ เหมือนลูกตาข้างที่ดีได้
การแก้ไข ควรปรึกษา จักษุแพทย์ในระยะที่เริ่มเป็น แพทย์อาจรักษาโดยการใช้แว่นตา หรือฝึกกล้ามเนื้อที่อ่อนให้ทำงานดีขึ้น
หรืออาจรักษาโดยการผ่าตัด
การถนอมดวงตา
ตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การถนอมดวงตาไว้ใช้งานได้นานและอยู่ในสภาพ ดีที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ซึ่งเป็นวิธีปฎิบัติดังนี้
ซึ่งเป็นวิธีปฎิบัติดังนี้
1. อย่าใช้สายตานานเกินควร ถ้าจำเป็นควรพักสายตาบ่อยๆ
2. การอ่านหนังสือ ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ควรมีแสงส่องจากทางซ้าย ค่อนไปหลังเล็กน้อย ตาควรห่างจากหนังสือ
ประมาณ
ประมาณ 1 ฟุต
3. การดูโทรทัศน์ ควรดูในห้องที่มีแสงสว่างพอสมควร และควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่า
ของขนาดโทรทัศน์ เช่น โทรทัศน์ขนาด
ของขนาดโทรทัศน์ เช่น โทรทัศน์ขนาด 14" (วัดทแยงมุม) ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ 14 x 5 = 70 " = 70/12 ฟุต = 5.83. = ประมาณ 6 ฟุต
4. เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา อย่าใช้มือขยี้ตา ควรใช้น้ำสะอาด หรือน้ำยาล้างตาล้างเอาฝุ่นออก
5. หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้า เช่น ดวงอาทิตย์ ของสีขาวที่อยู่กลางแดดเพราะจะทำให้เซลล์ประสาทตาเสื่อมได้
6. ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับตาได้ เช่น อย่าให้ของแหลมอยู่ใกล้ตา ไม่เล่นขว้างปาหรือยิงหนังยางใส่กัน
7. ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่นแว่นตา ผ้าเช็ดหน้า เพราะอาจติดเชื้อได้
8. เวลานอนควรปิดไฟ เพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนเต็มที่
9. ควรกินอาหารที่ให้วิตามินเอประจำ เช่น ไข่ นม น้ำมันตับปลา ผักผลไม้สีเหลือง เป็นต้น
10. เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่นมองเห็นภาพไม่ชัด ตาบวม คันตา ฯลฯ ควรปรึกษาจักษุแพทย์
ลิ้น
ลิ้นเป็นอวัยวะรับสัมผัส(taste) ที่มีปุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วลิ้น ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับรส
ลิ้นคนเราสามารถรับรสได้
ลิ้นคนเราสามารถรับรสได้ 4 รส คือ หวาน เค็ม เปรี้ยว ขม โดยแต่ละตำแหน่งจะรับรสแตกต่างกันออกไปดังภาพ

จมูก
จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่น ซึ่งมีหน่วยรับกลิ่นอยู่ในโพรงจมูก
การที่เรารับรู้ว่าอาหารชนิดใดมีรสอร่อยนั้น ต้องได้รับทั้งรสและกลิ่นของอาหารด้วย

หู
หูเป็นอวัยวะที่ช่วยให้คนเราได้ยินเสียงต่างๆ และเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวกับการทรงตัวของร่างกายขณะร่างกายเคลื่อนไหว
ส่วนประกอบของหู
หูของคนเราแต่ละข้างแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน
1.หูชั้นนอก ประกอบไปด้วย
1.1 ใบหู เป็นกระดูกอ่อนที่หุ้มด้วยผิวหนังบางๆ ทำหน้าที่ดักและรับเสียงเข้าสู่รูหู
1.2 รูหู เป็นท่อคดเคี้ยวเล็กน้อย ลึกประมาณ 2.5 ซม. ผนังของรูหูบุด้วยเยื่อบาง และใต้เยื่ออ่อนนี้เต็มไปด้วยต่อมน้ำมัน
ทำหน้าที่ขับไขมันเหนียวและเหลว มาหล่อเลี้ยงรูหู ไขมันเหล่านี้เมื่อรวมกับสิ่งสกปรกต่างๆก็จะกลายเป็น ขี้หู
ซึ่งจะช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทางรูหูไม่ให้เข้าถึงเยื่อแก้วหูได้ง่าย
ทำหน้าที่ขับไขมันเหนียวและเหลว มาหล่อเลี้ยงรูหู ไขมันเหล่านี้เมื่อรวมกับสิ่งสกปรกต่างๆก็จะกลายเป็น ขี้หู
ซึ่งจะช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทางรูหูไม่ให้เข้าถึงเยื่อแก้วหูได้ง่าย
1.3 เยื่อแก้วหู เป็นเยื่อบางๆ อยู่ลึกเข้าไปในส่วนของรูหู กั้นอยู่ระหว่างหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง
ทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงที่เดินทางเข้ามาทางรูหู
ทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงที่เดินทางเข้ามาทางรูหู
2.หูชั้นกลาง อยู่ถัดจากเยื่อแก้วหู มีลักษณะเป็นโพรงอากาศบรรจุกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้นติดต่อกัน คือกระดูกค้อน
อยู่ติดกับเยื่อแก้วหู กระดูกทั่ง อยู่ตรงกลาง และกระดูกโกลน อยู่ติดกับหูชั้นใน ส่วนล่างของโพรงอากาศตอนปลายของหูชั้นกลาง
จะมีท่อ ยูสเตเชี่ยน
อยู่ติดกับเยื่อแก้วหู กระดูกทั่ง อยู่ตรงกลาง และกระดูกโกลน อยู่ติดกับหูชั้นใน ส่วนล่างของโพรงอากาศตอนปลายของหูชั้นกลาง
จะมีท่อ ยูสเตเชี่ยน (Eustachian tube) ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องอากาศแคบๆ และยาวต่อไปถึงคอ ทำหน้าที่ปรับความกดอากาศ
ข้างในและข้างนอกหูให้มีความสมดุลกัน ทำให้เราไม่ปวดหูเวลาอากาศเข้าไปกระทบ แก้วหูขณะที่มีการหายใจ หรือกลืนอาหาร
ข้างในและข้างนอกหูให้มีความสมดุลกัน ทำให้เราไม่ปวดหูเวลาอากาศเข้าไปกระทบ แก้วหูขณะที่มีการหายใจ หรือกลืนอาหาร

3.หูชั้นใน อยู่ถัดจากกระดูกโกลนเข้ามา หูชั้นนี้ประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
3.1 ส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ที่ขดเป็นวงซ้อนกันอยู่หลายชั้นคล้ายหอยโข่ง
ภายในมีท่อของเหลวบรรจุอยู่ ตามผนังด้านในของท่อมีอวัยวะรับเสียงอยู่ทั่วไป
ภายในมีท่อของเหลวบรรจุอยู่ ตามผนังด้านในของท่อมีอวัยวะรับเสียงอยู่ทั่วไป
3.2 ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว มีลักษณะเป็นรูปท่อโค้งครึ่งวงกลมเล็กๆ 3 วง วางเรียงติดต่อกัน
ตั้งฉากกับผนังภายใน ปลายของครึ่งวงกลมทั้ง
ตั้งฉากกับผนังภายใน ปลายของครึ่งวงกลมทั้ง 3 นั้น อยู่ติดกัน ท่อครึ่งวงกลมทั้ง 3 นี้บุด้วยเนื้อเยื่อบางๆ ที่มีประสาทรับความรู้สึก
เกี่ยวกับการทรงตัวกระจายอยู่ ส่วนที่เป็น ส่วนที่เป็นช่องว่างภายในท่อครึ่งวงกลมนี้ บรรจุด้วยของเหลว เมื่อเราเคลื่อนไหว ศีรษะ
หูย่อมเอนเอียงไปด้วย ของเหลวที่บรรจุภายในท่อทั้ง
เกี่ยวกับการทรงตัวกระจายอยู่ ส่วนที่เป็น ส่วนที่เป็นช่องว่างภายในท่อครึ่งวงกลมนี้ บรรจุด้วยของเหลว เมื่อเราเคลื่อนไหว ศีรษะ
หูย่อมเอนเอียงไปด้วย ของเหลวที่บรรจุภายในท่อทั้ง 3 นี้ ก็จะเคลื่อนที่ตามทิศทางการเอียงของศีรษะ ซึ่งจะไปกระตุ้นประสาท
รับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวแล้วส่งความรู้สึกไปยังสมองจึงทำให้เรา ทราบว่าร่างกายของเราทรงตัวอยู่ในลักษณะใด
ของเหลวที่บรรจุในท่อครึ่งวงกลมนี้จะปรับไปตามความกดดันของอากาศ ถ้าความกดดันอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
ของเหลวปรับตัวไม่ทันก็จะทำให้เรามีอาการวิงเวียน ศีรษะเมื่อขึ้นไปอยู่ที่สูงๆอย่างรวดเร็วเป็นต้น
รับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวแล้วส่งความรู้สึกไปยังสมองจึงทำให้เรา ทราบว่าร่างกายของเราทรงตัวอยู่ในลักษณะใด
ของเหลวที่บรรจุในท่อครึ่งวงกลมนี้จะปรับไปตามความกดดันของอากาศ ถ้าความกดดันอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
ของเหลวปรับตัวไม่ทันก็จะทำให้เรามีอาการวิงเวียน ศีรษะเมื่อขึ้นไปอยู่ที่สูงๆอย่างรวดเร็วเป็นต้น

ผิวหนัง
ผิวหนังเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่มีหน่วยรับสัมผัสแรงกดดัน ความร้อน และความเย็น ซึ่งอยู่ใต้ผิวหนังลงไป

เส้นประสาท
เส้นประสาท มีความยาวมาก เส้นที่ยาวที่สุดในร่างกายของคนเราจะมีความยาวประมาณ 1.3 เมตร คือ
จากปลายเท้าถึงกระดูกสันหลัง เซลล์ประสาททำหน้าที่รับความรู้สึกจากอวัยวะรับสัมผัสส่งไปสู่สมอง เรียกว่า
เซลล์ประสาทรับความรู้สึก
จากปลายเท้าถึงกระดูกสันหลัง เซลล์ประสาททำหน้าที่รับความรู้สึกจากอวัยวะรับสัมผัสส่งไปสู่สมอง เรียกว่า
เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron) เมื่อสมองรับรู้แล้วจะสั่งงานลงมาทางประสาทอีกเส้นหนึ่ง เรียกว่า
ประสาทสั่งการ
ประสาทสั่งการ (motor neuron) ไปยังอวัยวะสัมผัสนั้น ให้ทำงานตามที่ได้รับคำสั่งจากสมอง ซึ่งเซลล์ประสาทประกอบด้วย
1)หน่วยรับความรู้สึก (dendrite) ทำหน้าที่รับความรู้สึก
2)หน่วยส่งความรู้สึก (axon) ทำหน้าที่ส่งความรู้สึก


สมอง
สมองของคนเรามีน้ำหนักประมาณ 1.3 กิโลกรัม เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ สมองทำงานอยู่ตลอดเวลา
ไม่เคยหยุดไม่ว่าหลับหรือตื่น ดังนั้นสมองจึงต้องใช้พลังงานมากและต้องการสารอาหารอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่สมองต้องการ คือ
เลือด ออกซิเจน และน้ำตาลเพื่อไปหล่อเลี้ยง ฉะนั้นออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสมองอย่างมาก
ไม่เคยหยุดไม่ว่าหลับหรือตื่น ดังนั้นสมองจึงต้องใช้พลังงานมากและต้องการสารอาหารอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่สมองต้องการ คือ
เลือด ออกซิเจน และน้ำตาลเพื่อไปหล่อเลี้ยง ฉะนั้นออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสมองอย่างมาก
การทำงานประสานกันของเซลล์สมอง เกิดเป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
1.ความคิด ความจำและอารมณ์
2.การรับฟังเสียง การมองเห็น และการเคลื่อนไหว
3.การประสานงานของอวัยวะต่างๆ เช่น การนั่ง การนอน และการเดิน เป็นต้น
4.การหายใจ การย่อยอาหาร อัตราการเต้นของหัวใจ




รายชื่อสมาชิก : )
นางสาว กิตติมา จำปาทอง เลขที่ 4 ม.6/8
นางสาว จิรัฐติกาล ชมเย็น เลขที่ 7 ม.6/8
นางสาว ฐิตินันท์ิ สง่าทอง เลขที่ 10 ม.6/8
นางสาว ณฐพร บัวศรีทอง เลขที่ 11 ม.6/8

นางสาว เพชรนารา สนธิโพธิ์ เลขที่ 23 ม.6/8

นาย พงศกร หรั่งทอง เลขที่ 45 ม.6/8

นายพชรพล ผิวเณร เลขที่ 46 ม.6/8